Powered By Blogger

สมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน


สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน มีทั้งหมด 61 ชนิด ได้แก่

                                                                                         

เรามาดูตัวอย่างสมุนไพร พร้อมข้อมูลทั่วไป รวมทั้งสรรพคุณของสมุนไพรเหล่านี้ ดีกว่า


กระเพรา
ข้อมูลทั่วไป กระเพรา
ชื่อวิทย์  
Ocimum sanctum, Linn.
ชื่อวงศ์    Fam. : MALVACEAE

ชื่ออื่น
กระเพราแดง, กระเพราขาว (ภาคกลาง)
ก่ำก้อขาว , ก่ำก้อดำ, กอมก้อขาว, กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาเหนือ)
ห่อตูปลา, ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน
  ลักษณะทั่่วไป
ต้น      เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูง ประมาณ 1 - 4 ฟุตโคนของลำต้น เนื้อไม้แข้ง มีขน มีกลิ่นหอม
ใบ      ใบสีเขียว เรียกว่า กะเพราขาว ใบสีแดงเรียกว่า กะเพราแดง ใบของมันมีขนโดย เฉพาะส่วนที่เป็นยอด
           ของมันจะมีมากกว่าส่วน อื่น ๆ ใบมีกลิ่นหอม
กิ่ง       กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของ มันจะอ่อน
ดอก    ดอกออกเป็นช่อ ตั้งขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ คล้ายรูปฉัตร กลีบดอกกะเพราขาว มีสีขาว แต่ ถ้าเป็นกะเพราแดง มีสีชมพูอมม่วง
เมล็ด   เมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำ อยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของมัน
การขยายพันธุ์    ใช้เมล็ด หรือลำต้น ใน การขยายพันธุ์ได้ ปลูกขึ้นดีในดินร่วนซุยน้ำ น้อย
ส่วนที่ใช้    ใบ, เมล็ด, ราก

สรรพคุณ
ใบ      ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
           ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
           เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
           สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
           ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
           ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
           ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
           นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก    ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

กระเจี๊ยบแดง
ข้อมูลทั่วไป กระเจี๋ยบแดง
ชื่อวิทย์  
Hibiscus  sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์    Fam. : MALVACEAE ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)   ลักษณะทั่่วไป ต้น      เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก  เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ  1 - 2  เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ      มีลักษณะอยู่หลายชนิด  ขอบใบเว้าลึก หยัก  หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
           ประมาณ  5  ซม.  
ดอก    ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ   ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
            เป็นปลายแหลม มีประมาณ  8 - 12  กลีบ  กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้  มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
            หักง่าย  มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  6  ซม.
เมล็ด   ส่วนในของเมล็ดรูปไต  เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์      ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี    
ส่วนที่ใช้   ยอด  ใบ  กลีบเลี้ยง  เมล็ด        ยอดและใบ   ใช้สด  กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด  เมล็ด  ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ        ยอดและใบ  ช่วยย่อยอาหาร  ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ  หล่อลื่นลำไส้  เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบายใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี  ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี  ต้มเอาน้ำมาล้างแผล     
เมล็ด    ลดไขมันในเลือด  บำรุงเลือด  บำรุงธาตุ  ขับน้ำดี  ขับปัสสาวะ  แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ  เป็นยาระบาย  วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน  ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง   ทำให้สดชื่น  ขับปัสสาวะ  ขับน้ำดี  ลดไข้  แก้ไอ  แก้นิ่ว  แก้กระหายน้ำ  วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน  ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ  5 - 10  กรัม

กระชาย
ข้อมูลทั่วไป กระชาย
ชื่อวิทย์  
Boesecnergia  pandurata (Roxb.)Schltr.
ชื่อวงศ์    Fam. : ZINGIBERACEAE ชื่ออื่น ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ)
ขิงทราย (มหาสามคาม)
จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)   ลักษณะทั่่วไป ต้น        เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นมีความสูง ประมาณ   90   ซม.    ส่วนกลางของลำต้นเป็น แกนแข็ง  มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
ใบ      
 มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดินออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม.  ยาว 30 - 35 ซม.   
ดอก      มีสีม่วงแดง  ดอกออกเป็นช่อ  กลีบรอง กลีบดอกเชื่อมติดกัน  มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน  โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว
              เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก   อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก  ยอดของมันเป็นรูปปาก
              แตรเกลี้ยงไม่มีขน
การขยายพันธุ์        จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือ หัวในดิน    ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย   การระบายน้ำได้ดี    ดินเหนียว
                                และดินลูกรังไม่เหมาะสมที่จะปลูก
ส่วนที่ใช้   รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน สรรพคุณ
  
   เป็น ยาบำรุงหัวใจบำรุงกำลัง  แก้ใจสั่นหวิว    ขับปัสสาวะพิการ    แก้บิดมูก เลือด  แก้ปวดมวนในท้อง  ท้องเดินให้ใช้หัว หรือเหง้า ปิ้งไฟให้สุกกินกับน้ำปูนใส  ถ้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคกามตายด้านหรือ  บำรุงกำหนัด  ใช้นมกระชาย  ดำและหัวดอง  หรือแช่กับเหล้ากิน     

กระทือ
ข้อมูลทั่วไป กระทือ
ชื่อวิทย์  
ingiber zerumbet  Smith.
ชื่อวงศ์    Fam. : ZINGIBERACEAE ชื่ออื่น ทือ หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน  (ภาคเหนือ)
เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)   ลักษณะทั่่วไป ต้น        เป็นพรรณไม้ล้มลุก  ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี สีขาวอมเหลือง 
ใบ   
    ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง   ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก    
 ดอกออกเป็นช่อ  โผล่พ้นขึ้นมาจาก หัวใต้ดิน  ช่อก้านดอกยาว  และเป็นปุ้ม  ส่วน ปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดง
             ซ้อนกันอยู่แน่น    กลีบดอกมีสีขาวนวล   มีลักษณะเป็นหลอด  ส่วนปลายกลีบอ้าออก  กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์    
 เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ   เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย   
ส่วนที่ใช้  
        ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า สรรพคุณ
ลำต้น     
ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร
ใบ             เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ   วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม  เอาน้ำดื่มกิน
ดอก          เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า         ใช้เป็นยาขับลม  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด    ปวดท้อง   บำรุงธาตุ     ขับปัสสาวะ  เสมหะเป็นพิษ
                  และบำรุงน้ำนม    วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด  ประมาณ  2  หัว  (20  กรัม)  ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับ
                  น้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว  แล้วใช้น้ำดื่ม

กระเทียม
ข้อมูลทั่วไป กระเทียม
ชื่อวิทย์  
llium sativum Linn.
ชื่อวงศ์    Fam. : ALLIACEAE  ชื่ออื่น หอมเทียน (เหนือ)
กระเทียมขาว หอมเทียม (อุดรธานี)
ปะเซ้วา (แม่ฮ่องสอน) เทียน (ใต้-ปัตตานี)   ลักษณะทั่่วไป ต้น        เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีเนื้ออ่อน  ต้นจะสูงประมาณ  30 - 45  เซนติเมตร  
ใบ       
เป็นสีเขียวแก่  ใบจะแบนแคบ  และกลวง  ยาวประมาณ  30 - 60  เซนติเมตร กว้างประมาณ  1 - 2.5  เซนติเมตร 
             ส่วนโคนของใบ จะหุ้มซ้อนกัน ด้านล่างมีรอยพับ  เป็นสันตลอด ความยาวปลายใบจะแหลม
หัว         หัวอยู่ใต้ดิน  ประกอบด้วยหัวเล็กๆ  หลายหัวรวมกัน ยาวประมาณ 1 - 4 เซนติเมตร มีเปลือกนอกสีขาวหุ้มอยู่  2 - 3  ชั้น
ดอก   
  จะมีสีขาวแต้มสีม่วง  หรือขาวอมชมพู ดอกออกเป็นช่อ  ดอกติดเป็นกระจุกอยู่บนก้าน ช่อดอกที่ยาว  ประกอบด้วยดอก
             หลายดอก กลีบดอกมี  6  กลีบ  รูปยาวแหลม  ยาวประมาณ  6  มิลลิเมตร  และจะมีกาบหุ้มเป็นจงอยยาว  ก้าน
             ดอกยาวเล็ก  อัปเกสรหันหน้าออกข้างนอก
การขยายพันธุ์          ใช้หัวไนการขยายพันธุ์ ชอบอากาศเย็น  จะปลูกได้ดีในดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์เหมาะ
                                  ที่จะปลูกในต้นฤดูหนาว
ส่วนที่ใช้         ส่วนที่อยู่ในดิน หัว  (Bulb) หรือ กลีบ  (Cloves)   หัว  ใช้สดหรือแห้ง
สรรพคุณ
          ใช้เป็นอาหาร  คือเป็นส่วนผสม เพื่อแต่งกลิ่น  ทางยาใช้ผสมกับขิงอย่างละเท่า ๆ กัน   แล้วนำมาบดละลายกับ
น้ำอ้อยกิน  จะแก้รัตตะปิตตะเสมหะ แก้เสมหะและลม แก้ฟกช้ำ  แก้อึด  กระจายโลหิต  ผสมยารักษาโรคมะเร็งเพลิง 
มะเร็งคุด  มะเร็งเปื่อยทั้งตัว  ผสมกับยา แก้ไอ  แก้จุกเสียด  แก้ลมบ้าหมู  แก้ลิ้นแข็ง  ช่วยบำรุงอาหาร  ผสมในยาแก้ท้องอืด
แก้เจ็บ ท้อง  ริดสีดวงทวาร  ผสมยาทาแก้คลายเส้น  แก้เมื่อย  แก้กลาก  แก้โรคผิวหนัง ผสมกับน้ำมันองคสูตรแก้
ริดสีดวงทวาร  คัน  ฟกช้ำ  บวม เมื่อใช้ผสมน้ำนมหรือน้ำกะทิสดคั้น  ใช้ขับพยาธิเส้นด้าย  กินอาทิตย์ละ 3 - 4  ครั้ง ก็จะ
ขับออก นอกจากนี้เนื่องจากกระเทียมมีรสร้อนสามารถ ลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดได้  ทำให้ลด การอุดตันของเส้นเลือด
เป็นต้น   
กระวาน
ข้อมูลทั่วไป กระเทียม
ชื่อวิทย์  
momun krevanh Pierre
ชื่อวงศ์    Fam. : ZINGIBERACEAE ชื่ออื่น กระวานขาว กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ ข่าโคก (อีสาน)  
ลักษณะทั่่วไป
ต้น        ลักษณะต้นแบน   มีความสูงประมาณ 1.75 - 3.60  เมตร 
ใบ       
ใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบกว้างประมาณ  2.5 - 12.5  ซม. และมีความยาวประมาณ  29 - 75  ซม.
ดอก      ออกเป็นช่อ  มีสีขาวแกมเขียว  ก้านช่อดอกนั้นจะผุดออกมาจากลำต้นที่อยู่ติดกับดิน
ผล   
    มีลักษณะเป็นรูปรี  กลมเกลี้ยง  และ เป็นกลีบที่ประกบติดกันแน่นอยู่  3 กลีบ ผล ของมันยาว ประมาณ 1 - 1.5
         นิ้ว และหนาประมาณ 0.2 นิ้ว ในผลนั้นจะมีเมล็ดซึ่งจะเป็นสีน้ำตาล  มีเนื้อเยื่อใสหุ้มอยู่มีกลิ่นหอมรส ชาติ
         เผ็ดร้อน และในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ  20 เมล็ด
การขยายพันธุ์       เหง้า เมล็ด
ส่วนที่ใช้              ใบ , ผล(เมล็ด) , หัวหน่อ , ราก
สรรพคุณ
ใบ             เป็นยากระตุ้นหรือขับลมให้ลงสู่เบื้อง ล่างแก้ไข้เชื่องชึมลดไข้
ผล (เมล็ด)    ในเมล็ดจะมีน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 3 - 6 % ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ  กระจายโลหิต กระจายเสมหะ
                ขับลมผาย  ขับลมและใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารด้วย
หัวหน่อ        ใช้เป็นยาขับพยาธิ  ในเนื้อเยื่อให้ ออกมาทางด้านผิวหนัง
ราก            ขับเลือด ที่เน่าเสียให้ลงสู่เบื้องล่าง
กานพลู
ข้อมูลทั่วไป กานพลู
ชื่อวิทย์  
Eugenia caryophyllus Bullock & Harrison
ชื่อวงศ์    Fam. : MYRTACEAE   ชื่ออื่น จันจี  
ลักษณะทั่่วไป
ต้น       เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  ลำต้น มีความสูง  ราว  9 - 12  เมตร  ผิวของมันเป็นสี เหลืองน้ำตาล
ใบ 
      ใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวของใบเรียบมัน ค่อนข้างหนา   ใบยาวประมาณ 4 นิ้ว   รูปลักษณะของมัน  ปลาย
            และโคนใบแหลมเป็น รูปยาวรี
ดอก    ดอกเป็นสีเขียวอมแดงเลือดหมู หรือ สีขาวอมเขียว  ดอกจะออกเป็นกระจุกหรือเป็นช่อ  ประมาณ  15 - 20
            ดอกคล้ายดอกขจร     
ผล       ผลมีสีน้ำตาลเข้ม  ผลของมันมีขนาด ยาวประมาณ 1 ซม.  และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ  0.3 - 0.4  ซม.
การขยายพันธุ์       ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน กิ่งนำไปปลูกในดินร่วนซุย   หรือในคืนที่มีปุ๋ย อินทรียวัตถุ ต้องการน้ำปานกลาง
ส่วนที่ใช้     ดอก   
สรรพคุณ
       ใช้ เป็นยาแก้พิษโลหิต แก้ปวดท้อง  แก้ลมเป็นเหน็บชา  แก้พิษน้ำเหลือง  น้ำคาวปลา  แก้อุจจาระให้ปรกติ   แก้เลือดออกตามไรฟัน  แก้ปวดฟัน  แก้หีด  ละลายเสมหะ    ดับกลิ่นปาก     แก้รัตตปิตตโรค เป็นต้น  ดอกเมื่อตากแห้งแล้ว  เป็นสีแดงน้ำ ตาล  นำมากลั่นใช้  0.12 - 0.3  กรัม  หรือ  2 - 5   กรัม   จะเป็นยาแก้ท้องขึ้นธาตุพิการ  ขับผายลมในลำไส้  เป็นยาบำรุง   และน้ำมันจาก กานพลู ซึ่งกลั่นออกมา ใช้เป็นยาระงับกระตุก แก้ปวดท้อง   ขับผายลม   และใช้สำลีชุบนำมา อุดฟันที่ปวด
 
ขมิ้น
ข้อมูลทั่วไป ขมิ้น
ชื่อวิทย์  
urcuma Longa   Linn.
ชื่อวงศ์    Fam. : ZINGIBERACEAE ชื่ออื่น ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นทอง ขมิ้นแดง ขมิ้นชัน พยาว่าน ตายอ (กำแพงเพชร)
สะยอ (แม่ฮ่องสอน) ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) หมิ้น, ขี้มิ้น (ภาคใต้)  
ลักษณะทั่่วไป
ต้น           เป็นพรรณไม้ล้มลุก  มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มาก เป็นพรรณไม้พวกเดียวกันกับว่านหรือขิง มีลำต้นสูงประมาณ 
                50 - 70  ซม.  เนื้อในจะมีสี เหลืองอมส้ม  และมีกลิ่นหอม
ใบ    
       เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหอกแกม ขอบขนานกัน กว้างประมาณ 8 - 10  ซม. และยาวประมาณ  30 - 40
                ซม. ก้านใบยาวราว 8- 15 ซม.  เป็นกาบใบแคบ ๆ มีร่องแผ่ครีบออก เล็กน้อย    หน้าแล้งใบนั้นจะแห้งเหลือ
                เหง้าใต้ ดินอยู่ห้ามรดน้ำ   เพราะถ้าแฉะไปเหง้าจะเน่า แต่ถ้าฤดูฝน    ฝนตกก็จะแทงต้นใหม่และออก ดอก
ดอก        จะออกดอกเป็นช่อใหญ่สวย ก้านช่อ ดอกนั้นจะยาวพุ่งออกมาจากใต้ดิน ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ  5 - 8 
                ซม. ส่วนใบประดับ สีเขียวอ่อน ๆ หรือสีขาว  ตรงปลายช่อดอกจะมีสี ชมพูอ่อน  จะจัดรียงซ้อนกัน  อย่างเป็น
                ระเบียบ ใบประดับ  1  ใบจะมีดอกอยู่  2  ดอก ใบประดับ ย่อยนั้นรูปขอบจะขนานยาว  3 - 3.5   ซม.  กลีบ
                รองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ  มีขน กลีบดอกจะมีสีขาว  ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ยาวปลายของมัน
                จะแยกเป็น  3  ส่วน
การขยายพันธุ์         เหง้า ลำต้น 
ส่วนที่ใช้             เหง้าที่แก้จัด  ใช้ทั้งสดและแห้ง เหง้าแห้งนิยมป่นเป็นผง 
สรรพคุณ
ใบ            ใช้ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นเครื่องเทศ รักษาแผลในลำไส้ เจริญอาหารคลายกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ที่เกร็งตัว
บรรเทาอาการวิงเวียน ระงับเชื้อ ขับปัสสาวะ ลดไข้ ขับพยาธิ ใช้ภายนอก รักษากลาก เกลื้อ แก้ผื่นคัน หรือโรคผิวหนังอื่น ๆ
ขลู่
ข้อมูลทั่วไป ขลู่
ชื่อวิทย์   Pluchea indica   Less.
ชื่อวงศ์    Fam. :ASTERACEAE    ชื่ออื่น ขลู หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาย (อีสาน)  
ลักษณะทั่่วไป
ต้น        เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก   ลำต้นมี ความสูงประมาณ  0.5 - 2  เมตร   แตกกิ่งก้าน มากและเกลี้ยง
ใบ       
จะมีกลิ่นฉุน ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความ ยาวประมาณ  1 - 5.5  ซม.  กว้างประมาณ  2.5 - 9  ซม. ตรงปลายใบ
             ของมันจะมีลักษณะแหลม หรือแหลมที่ติ่งสั้น      ขอบใบจักเป็นซี่ฟันและ แหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษค่อนข้าง
             เกลี้ยง แต่ไม่มีก้าน
ดอก 
    จะออกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล  หรือ สีม่วง จะออกตามง่ามใบ   ดอกวงนอกเป็นดอก เพศเมีย  ดอกวงในเป็นดอก
             สมบูรณ์เพศ
ผล
        แห้งจะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7 มม. มีสัน 10 สันระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม.แผ่กว้าง
การขยายพันธุ์
         เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามที่ลุ่มชื่นแฉะ ริมห้วยหนอง  ตามหาดทราย ด้านหลังป่าชายเลน
                                นิยมปลูกเป็นพืช สมุนไพร การปลูกให้ใช้วิธีการปักชำโดยตัด ต้นชำลงดิน รดน้ำให้ชุ่ม ปลูกขึ้นง่าย
ไม่ต้อง การการดูแลรักษาแต่อย่างใด 
ส่วนที่ใช้
     ยอด ใบ
สรรพคุณ
ทั้งต้น  ใช้ต้มกิน รักษาอาการ ขัดเบา ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ
75 มิลลิลิตร หรือ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้ยังรักษาโรค วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง  โรคเบาหวาน ริดสี ดวงทวาร ขุดเอาแต่ผิวต้น
ผสมกับยาสูบแล้ว นำมามวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก    
ข่อย
ข้อมูลทั่วไป ข่อย
ชื่อวิทย์   Streblus  asper    Lour.
ชื่อวงศ์    Fam. : MORACEAE    ชื่ออื่น -  
ลักษณะทั่่วไป
ต้น          เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ใบ       
  จะเล็กหนาแข็ง  ถ้าจับดูทั้ง  2  ด้าน จะสากคายคล้ายกับกระดาษทราย ขอบใบจะหยัก แบบซี่ฟัน
ดอก       ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอก  แบบ หัวกลม  และมีก้านดอกที่สั้นมีสีเหลืองอมเขียว หรือเกือบจะขาว 
               ส่วนดอกตัวเมียนั้นก้านดอก จะยาว  และมักจะออกเป็นคู่สีเขียว
เมล็ด (ผล)     เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน  เปลือกชั้นนอกจะนิ่มและฉ่ำน้ำ  ส่วนเมล็ดนั้น มีลักษณะเกือบกลมคล้ายเม็ดพริกไท
การขยายพันธุ์       โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้       เมล็ด  ใบ  เปลือก และราก
สรรพคุณ
ใบ          จะมีลักษณะสากใช้ขัดเครื่องครัว  ใช้ถู- เมือกปลาไหล  นอกจากนี้ใบยังนำมาคั่วชงน้ำ ดื่มก่อนที่จะมีประจำเดือน
               สำหรับสตรีที่มีอา การปวดท้องขณะที่มีประจำเดือน  ใช้บรรเทา อาการปวดได้  หรือใช้ชงน้ำดื่มแทนน้ำได้ 
เมล็ด     ใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ  เจริญอาหาร  ขับผายลม  บำรุงธาตุรักษาท้อง - ขึ้น  ท้องอืด  ท้องเฟ้อ
เปลือก   มีรสเมาเบื่อดับพิษในกระดูกและ ในเส้น  รักษาพยาธิ  ผิวหนัง  เช่น  หุงน้ำมัน ริดสีดวง  หรือใช้ต้มใส่เกลือให้เค็ม
               เป็นยาอม รักษารำมะนาด นอกจากนี้เปลือกข่อยใช้มวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก
ราก        ในเปลือกรากมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจ  (Cardiac  glycosides )  มากกว่า 30  ชนิด 
 
ที่มา http://ittm.dtam.moph.go.th/Service/herb_data/index.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. Hotel Review New York - Casino in Queens - MapyRO
    The Borgata Hotel Casino is a top-of-the-line place in 영천 출장마사지 New York 광양 출장샵 for the ultimate 순천 출장샵 staycation experience. With a 정읍 출장샵 stay at the Borgata in Queens, you'll be steps from  논산 출장샵 Rating: 8.4/10 · ‎5,488 votes

    ตอบลบ